ไขข้อข้องใจ "ขนมโตเกียว" มี "เส้นยึกยือ" ไปเพื่ออะไร ไม่ได้มีเหมือนกันทุกร้าน
คอมเมนต์:
"ขนมโตเกียว" หลายหลายด้วยไส้หวาน ไส้เค็ม ใส่ไข่ ไม่ใส่ไข่ สำหรับหลายๆ คนแล้วก็คงเป็นหนึ่งในขนมที่ผ่านปากกันมาแล้วนักต่อนัก หลายคนก็มีความชอบแตกต่างกันออกไปแล้วแต่รสนิยม
แต่เพื่อนๆ เคยสงสัยกันมั้ยครับ ว่าทำไมเวลาเราสั่งซื้อโตเกียวบางร้าน ทำไมคนขายต้องทำเส้นยึกๆ ยือๆ อยู่ที่มุมใดมุมหนึ่งของขนมโตเกียวด้วย? แต่ทำไมบางร้านถึงไม่มี?
Sponsored Ad
เผื่อหลายคนสงสัย ลองไปชมภาพปลากรอบ เอ๊ย ประกอบกันดูครับ
เรื่องความสงสัยมันเริ่มมาจากโพสต์ของเพจ สลอต ที่หลายครั้งมักจะเอาคำถามแปลกๆ ชวนปวดหัวจากลูกเพจมาแบ่งปันอยู่เป็นประจำ และในครั้งนี้ก็เป็นเรื่องของเส้นยึกๆ ยือๆ บนขนมโตเกียว จึงเกิดเป็นประเด็นถกเถียงขึ้นมาในโลกโซเชียลว่า สรุปแล้วมันมีไว้ทำอะไร?
Sponsored Ad
ลองไปอ่านความเห็นของลูกเพจสลอตกันดูครับ
มุกนี้อย่าเล่นอีกนะ ฮ่าๆๆ
อันนี้แอดขอไม่ยุ่งนะคะ บายยยย
อาจจะเป็นลายเซ็นของร้านก็ได้
.
Sponsored Ad
ลืมไปว่าที่นี่คือเพจ สลอต ก็เลยได้ความเห็นน่าปวดหัวเหล่านี้มา เอาล่ะครับเราไปเข้าเรื่องที่เป็นสาระกันบ้าง ก็คือว่ามีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า Pi Shetshotisak ได้เขียนข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ‘ขนมโตเกียว’ เอาไว้
ซึ่งมีหลากหลายข้อมากๆ และที่สำคัญมีอธิบายถึงไอ้เส้นยึกๆ ยือๆ เอาไว้ด้วย!?
Sponsored Ad
.
โดยเขียนอธิบายเอาไว้ว่า “ทำเส้นยึกยือ ตอนเด็กๆเคยตั้งคำถามกับตัวเองหลายครั้งว่า ทำไมขนมโตเกียวต้องทำเส้นยึกยือด้วยวะ?”
“ด้วยความด้อยเดียงสา คิดว่าเขาทำมาจะได้ม้วนขนมโตเกียวง่ายๆ ซะอีก แต่พอโตขึ้นมา ร้านขายขนมโตเกียวหลายร้าน ก็ไม่ทำเส้นยึกยือ ก็ม้วนได้ปกติ นี่หว่า แต่ที่หายไปคือความอร่อย”
Sponsored Ad
“ใช่แล้วครับ เส้นยึกยือเหล่านี้ เป็นส่วนที่มีความกรอบสูง ย้อนไปที่อัตราส่วนพื้นที่ผิวต่อน้ำหนัก เส้นยึกยือถือเป็นส่วนที่มีอัตราส่วนนี้เยอะมาก เพราะฉะนั้นมันเลยกรอบได้ไว กรอบได้ง่าย”
“พอม้วนไปกับตัวขนมโตเกียว เรากัดเข้าไป มันจึงให้ความ crunchy เพิ่ม texture ให้กับรสสัมผัสมากขึ้น ทำให้เรารู้สึกว่ามันกรอบยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นร้านไหนไม่ได้ทำเส้นยึกยือ สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเขายังหยั่งไม่ถึงมิติอันล้ำลึกของขนมโตเกียว”
Sponsored Ad
และที่มามันก็เป็นแบบนี้นี่แหละครับผม เป็นสาระเล็กๆ น้อยๆ ที่คิดว่าเพื่อนๆ หลายคนน่าจะอยากรู้ หวังว่าจะช่วยให้ทุกคนมีความสุขกับการกินขนมโตเกียวมากขึ้นนะครับ
ที่มา : Pi Shetshotisak