เคล็ด(ไม่)ลับ! ดูแล "น้องสาว" ให้สะอาด สุขภาพดี ไร้กลิ่นอับ มากู้คืนความสดใสให้น้องสาวกัน

คอมเมนต์:

โปร่งสบายห่างโรคจริงๆ!

    "โรคทางนรีเวช" ในผู้หญิงคือโรคที่พบบ่อยมากที่สุด ตามที่องค์การอนามัยโลกได้ทำการสำรวจระบุว่ามากกว่า 90% ของผู้หญิงมีโรคทางนรีเวช พบโรค “ภายในช่องคลอดอักเสบ” และ “ภายนอกช่องคลอดอักเสบ” สูงที่สุดถึง 75% เพราะผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิตนี้

    อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันโรคทางนรีเวชต่างๆ ผู้หญิงหลายคนเลือกโลชั่นดูแลที่หลากหลายซึ่งคิดว่าการใช้ทุกวันสามารถฆ่าเชื้อได้ดี

 

Sponsored Ad

 

    สื่อต่างประเทศรายงาว่า แต่ในท้ายที่สุดพบว่า แม้ว่าจะใส่ใจในเรื่องสุขอนามัยส่วนตัวมากแค่ไหน ก็ยังต้องไปพบหมอโรคทางนรีเวชเกี่ยวกับอาการอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้อยู่ดี  ดังนั้นจึงมีหลักการและวิธีการที่ต้องระวังในแง่ของการทำความสะอาดดังนี้

 

Sponsored Ad

 

    เนื่องจาก “ช่องคลอด” ของผู้หญิงอยู่ติดกับ “ทวารหนัก” และ “ท่อปัสสาวะ” จึงมีความเสี่ยงสูงต่อการปนเปื้อนและการติดเชื้อได้ง่าย อีกทั้งความต้านทานของเยื่อบุผิวในช่องคลอดอยู่ในระดับต่ำ เมื่อติดเชื้อแล้วแบคทีเรียจะเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะอักเสบได้ง่าย

    วิธีการดูแลรักษาช่องคลอดที่ถูกต้อง ดังนี้..

 

Sponsored Ad

 

    1.ทำความสะอาดภายนอกช่องคลอดอย่างเหมาะสม

    หากไม่จำเป็นอย่าล้างช่องคลอดบ่อย ๆ และอย่าใช้น้ำยาทำความสะอาดช่องคลอดเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียบ่อยครั้ง เพราะมันจะไปทำลายความสมดุลทางนิเวศวิทยาของช่องคลอด เช่นนั้นจะทำให้แบคทีเรียภายนอกบุกรุกเข้าช่องคลอดได้ง่าย

    2. อุปกรณ์ทำความสะอาดส่วนบุคคลและผ้าเช็ดตัว

 

Sponsored Ad

 

    ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ทำความสะอาดก่อนใช้งาน ทางที่ดีที่สุดหลังใช้ผ้าเช็ดตัวควรวางไว้ในที่มีอากาศถ่ายเท หรือควรเป่าให้แห้งโดยเร็วที่สุด ทางที่ดีที่สุดควรตากไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง เพราะมีผลในการฆ่าเชื้อโรคได้ หากตากไว้ในห้องน้ำจะทำให้เกิดเชื้อโรคทวีคูณ

    3.ใส่ใจวิธีเช็ดที่ถูกต้อง

 

Sponsored Ad

 

    ให้ความสนใจกับทิศทางการเช็ดทำความสะอาดอวัยวะ โดยหลักการเช็ดที่ถูกต้องคือ ให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง แต่ถ้าจะดีควรใช้น้ำอุ่นฉีดล้างทำความสะอาดก่อน เพราะหากเช็ดไม่สะอาดอาจคราบอุจจาระอาจจะเปื้อนกางเกงใน และแบคทีเรียในลำไส้ที่อยู่ในอุจจาระจะบุกรุกช่องคลอดและทำให้เกิดการอักเสบได้

    4. การเปลี่ยนผ้าอนามัย

 

Sponsored Ad

 

    ในช่วงเวลาที่มีประจำเดือนควรเปลี่ยนผ้าอนามัยสม่ำเสมอ ทางที่ดีสุดควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 2-3 ชั่วโมง เพราะแบคทีเรียมักชอบอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนและอับชื้น

    5. อย่าใช้ผลิตภัณฑ์อัลคาไลน์(น้ำด่าง)หรือสารเคมี

Sponsored Ad

    อย่าใช้สบู่อัลคาไลน์(ความด่าง)หรือโพแทสเซียมที่มีกรดสูงในการทำความสะอาดช่องคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการแปรสภาพความเป็นกรดปกติของช่องคลอด ซึ่งหากเกิดสภาพความเป็นกรดที่ผิดปกติอาจนำไปสู่การอักเสบของช่องคลอดได้ง่ายขึ้น

(เป็นเพียงภาพประกอบเนื้อหาเท่านั้น)

    หากจำเป็นต้องใช้ “น้ำยาทำความสะอาดช่องคลอด” ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และทำความสะอาดตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดข้อผิดพลาดหรือการทำความสะอาดที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดปัญหาที่ไม่จำเป็น

ที่มา:kknews

แปลและเรียบเรียงโดย  Liekr

บทความที่คุณอาจสนใจ