จิตแพทย์เตือน "เห็นต่าง" ทางการเมืองได้ แต่อย่าสร้างความเกลียดชัง จงเห็นต่างอย่างมีเหตุผล
คอมเมนต์:
วันที่ 13 ก.ค. นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต เปิดใจให้สัมภาษณ์ ถึงประเด็น 'ความเห็นต่างทางการเมืองที่นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือสังคม' พร้อมออกโรงเตือนสังคม เห็นต่างทางการเมืองได้ แต่อย่าสร้างความเกลียดชัง
นพ.ยงยุทธ เผยว่า ความเห็นต่างเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือ "การสร้างความเกลียดชัง" พยายามทำให้ความเห็นต่างเป็นเรื่องที่ไม่ดี ทั้งที่เป็นเพียงมุมมองทางออกที่แตกต่างกัน
Sponsored Ad
ถ้าเราต่างยอมรับความเห็นต่างของกันและกัน เราจะเห็นว่าคนเห็นต่างเหล่านี้คือคนรอบตัวเรา คนในที่ทำงาน เพื่อนของเราเอง ฉะนั้นเราจะเกลียดชังกันไปทำไม ขอเห็นต่างอย่างมีเหตุผล
นอกจากนี้การรับรู้ข่าวสาร ควรจะรับจากแหล่งข่าวที่เป็นกลาง ให้ข้อมูลทั้งสองฝ่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสื่อหลักที่มีกองบรรณาธิการควบคุมดูแลอยู่ หากเรารับแต่สื่อที่นำเสนอข่าวฝ่ายเราฝ่ายเดียว ก็จะยิ่งเพิ่มอารมณ์ แต่ถ้ารับรู้สื่อกลางๆ ก็จะรับรู้มุมมองของสองฝ่ายมากขึ้น
นพ.ยงยุทธ ยังกล่าวถึงกรณีที่มีการชุมนุมในหลายพื้นที่ หลังเกิดกระแสไม่พอใจการทำงานของ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ส่งเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยคุณสมบัติการเป็น ส.ส. ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่า
Sponsored Ad
ความเห็นต่างเป็นสิ่งที่ต้องพูดกันด้วยเหตุผล และไม่สร้างความเกลียดชัง เพราะถ้าเมื่อไหร่มีความเกลียดชังก็จะนำไปสู่ความรุนแรง โดย ความเกลียดชังก็เริ่มได้จากการใช้คำพูด (Hate speech) และการปล่อยข่าวลวง (Fake news)
ในทางหลักจิตวิทยาสังคม จะเรียก ความเกลียดชังว่าเป็นตัวโหมโรงก่อนที่จะเกิดความรุนแรง ใช้กำลังกันได้ง่าย ควบคุมอารมณ์กันได้ยาก โดยเฉพาะการชุมนุมที่เกิดขึ้นจากทั้งสองฝ่าย ฉะนั้น หัวใจสำคัญคือการไม่สร้างความเกลียดชัง
การการชุมนุมส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหา ถ้าไม่เกิดความเกลียดชัง ดังนั้นการชุมนุมควรเป็นการใช้เหตุผลเพื่ออธิบายสิ่งที่ตนเองคิด ไม่ใช่การใช้ความเกลียดชัง
ที่มา : hfocus